วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550

re-tell-3 : กับแกล้มรัฐธรรมนูญ.... ติวเข้มก่อนลงมติ รับ/ไม่รับ

สวัสดีครับ ทุกคน หลังจากที่ผมได้เริ่มเขียน Blog ได้ไม่นาน ก็พบว่ามีบทความที่น่าสนใจมากมาย จึงอยากนำมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งจะต่างกับการแนะนำ เว็บไซต์ หรือเว็บบล๊อกดีๆ ใน Web Blog Guide Station นะครับ เพราะเป็นการนำเฉพาะบทความ หรือบางส่วนของเว็บไซต์มาเท่านั้น และผมจะอ้างถึง หน้าเว็บเพจ นั้นๆ ที่ท้ายบทความในส่วน page reference ครับ

........................................................................



พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ในท่ามกลางมหาสมาคม แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบรัฐธรรมนูญให้แก่พระยามโนปกรณ์ ฯ



อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปรัฐธรรมนูญไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 จนถึงปี พ.ศ. 2549 ราชอาณาจักรไทย มี รัฐธรรมนูญ 17 ฉบับ ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549

ทางรัฐบาลได้กำหนดวันรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรในวันที่ 10 ธันวาคม 2475

ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

ในวันพระราชพิธีรับพระราชทานรัฐธรรมนูญ ได้จัดเป็นงานมโหฬาร ข้าราชการทั้งในและนอกราชการ ตลอดจนทูตานุทูต ได้เข้าเฝ้าประจำตำแหน่งอย่างครบครัน สำหรับข้าราชการพลเรือน ได้ยกเลิกยศอำมาตย์ ดังนั้นเครื่องแบบที่เคยแต่งอย่างสง่างาม จึงเปลี่ยนมาเป็นเครื่องแบบชุดขาวติดแผงที่คอ เมื่อได้ฤกษ์ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ก็ได้นำรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย

งานฉลองรัฐธรรมนูญครั้งแรก


งานพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ ได้มีการหยุดราชการ 3 วัน และจัดให้มีงานมหรสพที่ท้องสนามหลวง และสวนลุมพินี มีการประดับโคมไฟกันทั่วไปในพระนคร ตลอดจนต่างจังหวัดด้วย


ในโอกาสนี้ได้ประพันธ์บทเพลงชาติขึ้น โดยความริเริ่มของนายพันเอกพระยาทรงสุรเดช เป็นการกระตุ้นเตือนให้คนไทย สำนึกในชาติกำเนิดของตน


ในงานฉลองรัฐธรรมนูญได้มีเรื่องที่เนื่องมาจากการปกครองแบบใหม่อยู่หลายเรื่องด้วยกันคือ นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ได้หยุดเรียนมาชุมนุมประท้วงระเบียบการของโรงเรียน จีนลากรถรับจ้างสไตร๊คหยุดงานประท้วงนายจ้างที่เอาเปรียบ และไม่ปรับปรุงรถให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ลูกศิษย์วัดบางแห่งถือหลักสิทธิเสมอภาคกันไม่หุงข้าวให้พระฉัน และมีเรื่องขบขันเกิดขึ้นในบางจังหวัด เมื่อมีการฉลองรัฐธรรมนูญกันมโหฬาร ก็เข้าใจว่าเป็นการสมโภชบุตรชายคนใหม่ของพระยาพหล เป็นต้น




รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับอื่นตามลำดับคือพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
สยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550-รอลงมติ วันที่ 19 สิงหาคม 50

ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าจะใช้ระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือระบบประธานาธิบดีจะประสบผลสำเร็จนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญ ความมั่นคง ประชาชนมีความผาสุกนั้น มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบการปกครองที่ถูกต้อง ส่วนที่สอง ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่เข้ามาอยู่ในระบบ มีตำแหน่งหน้าที่ หากทำงานอย่างเต็มความสามารถโดยสุจริต ก็จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ หากทำงานโดยทุจริต ทรยศต่อหน้าที่ประชาชน ก็จะทำให้ประเทศชาติได้รับความเสียหาย และส่วนที่สามคือ ประชาชนในชาติต้องรู้ระบบการปกครองของประเทศ จึงจะสามารถใช้สิทธิหน้าที่ของประชาชนตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องทั้งไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติ เราจึงควรศึกษาจากประเทศอังกฤษและญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศชั้นนำของโลกก็ล้วนแต่ปกครองโดยระบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

และทุกคนที่เป็นคนไทยควรมีจิตสำนึกว่า เราควรจะตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน โดยการยกย่องคนดีแทนการยกย่องคนมีเงิน มีอำนาจ แต่ไม่ดีกันแล้วหรือยังเลิกกราบไหว้ คบค้าสมาคมกับคนไม่ดี โดยไม่เกรงกลัวอิทธิพล ไม่หวั่นต่ออันตราย สังคมควรจะพร้อมใจกันลงโทษคนจำพวกนี้ และยกย่องส่งเสริมคนดีให้มีกำลังใจ ให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกหลานเราต่อไป

ดังนั้น ในวันแสดงมติ วันที่19 สิงหาคม 2550 นี้ อย่างน้อยผู้ที่จะไปแสดงมติ ก็น่าจะมีข้อมูลเบื้องตันเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะไปแสดงมมติ เพื่อให้เส้นทางประชาธิปไตยของประเทศเรา ไม่ต้อง วนเวียนอยู่กับวังวนแห่งการเข้ามาสู่อำนาจการแทรกแซงและครอบงำผ่านร่างรัฐธรรมนูญ แม้ยังไม่เห็นในวันนี้ อย่างน้อยเราก็ยังตื่นตัวกับความหวังเพื่อให้ลูกหลานได้เข้าใจระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย ตลอดเส้นทางที่กระท่อนกระแท่น ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงรุ่นของเขา

จากประเด็นดีเบตที่ผ่านมาพอสรุปเพื่อประกอบการใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกลงมติดังนี้

อ.จรัล “ที่มา แนวคิด และข้อดีของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550”

รัฐธรรมนูญปี 2550 มาจากขบวนการปฏิวัติรัฐประหาร ส่วนของของปี 2540 มาจากขบวนการประชาธิปไตย, กก.ส.สร.ไม่ได้ ทำตามคำบงการของใคร มาจากการเข้าหาประชาชน มีกระบวนการเข้าหาประชาชน ส.สร.35 คนมีการวางกรอบ และฟังเสียงประชาชนก่อน ทำยกร่างแรกให้ประชาชนพิจารณา มีทั้งเสียงสนับสนุน-คัดค้าน นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

เอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาเป็นฐาน คงจุดเด่นไว้และปรับปรุงแก้ไขจุดด้อย

รัฐธรรมนูญปี 2540 เปิดช่องทางให้การสรรหาองค์กรอิสระถูกแทรกแซงโดยฝ่ายการเมืองเสียงข้างมากและเกิดวิกฤติทางการเมือง

รัฐธรรมนูญปี 2540 ขาดในเรื่องจริยธรรม และคุณธรรมทางการเมือง (มีมาตราเดียว คือมาตรา 77 และไม่มีการดำเนินการ) เพิ่มองค์กรตุลาการ

โดยตัดฝ่ายการเมืองเลือกองค์กรอิสระเพื่อความเป็นกลาง “ให้มองเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ มากกว่ามองว่าใครเป็นคนร่าง”

อ.นิธิ

รัฐธรรมนูญ 2550 ประชาชนชั้นล่างเข้าไม่ถึง ระบบตัวแทนมีปัญหาเนื่องจากเขตเลือกตั้งใหญ่ ยกอำนาจ การสรรหาองค์อิสระขึ้นอยู่กับตุลาการภิวัฒน์

สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นเพียงกฎหมาย ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ มีกฎหมายเป็น พ.ร.บ.4 ฉบับ ที่ครองงำรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายใน

ข้อสังเกต รัฐธรรมนูญปี 2550 เพิ่มหมวดจริยธรรม ส.ส.,ส.ว.ต้องแจงบัญชีทรัพย์สิน ห้ามญาติของ ส.ส.มาเป็น ส.ว.ยกระดับวุฒิสภา

การเพิ่มอำนาจประชาชน ประชาชนสามารถเสนอกฎหมาย ทำงานร่วมกับนักการเมือง “ผู้ที่เสนอกฎหมายสามารถเข้าไปชี้แจง ในสภาได้” คณะกรรมาธิการ หนึ่งในสาม ต้องมาจากภาคประชาชน

รัฐธรรมนูญปี 2550 ให้มีสภาเกษตรกร การคุ้มครองผู้บริโภคต้องเกิดขึ้นภายในหนึ่งปี และปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 ไม่มีตรงนี้

มาตรา 309 เจ้าปัญหา

นายจาตุรนต์ แกนนำไทยรักไทย

“รัฐธรรมนูญที่มาจากการรัฐประหาร ย่อมไม่เป็นประชาธิปไตย” รัฐธรรมนูญปี 2550 สร้างเสริมความมั่นคงของอมาตยาธิปไตย

ไม่รับ เพราะ ไม่ได้มาจากประชาธิปไตย มาจากผู้มีอำนาจ คมช.เป็นหลัก

อ.สมคิด ส.สร.จึงเสนอ “ประเด็นในร่างรัฐธรรมนูญ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย”

หลักการในการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมีความเป็นประชาธิปไตย และต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ.2549

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ คมช.ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่าง มาตรา 309 ไม่ได้นิรโทษกรรม คมช.แต่มุ่งอุดช่องว่างทางกฎหมาย

“ประชาธิปไตย คือ การปกครองโดยประชาชน เพื่อประชาชน”
ขอบคุณครับ
mobile : 089-3263248
update : Aug 2, 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เชิญแสดงความคิดเห็น ให้กับเจ้าของบทความด้วยนะครับ