สวัสดีครับ ทุกคน หลังจากที่ผมได้เริ่มเขียน Blog ได้ไม่นาน ก็พบว่ามีบทความที่น่าสนใจมากมาย จึงอยากนำมาฝากเพื่อนๆ ซึ่งจะต่างกับการแนะนำ เว็บไซต์ หรือเว็บบล๊อกดีๆ ใน Web Blog Guide Station นะครับ เพราะเป็นการนำเฉพาะบทความ หรือบางส่วนของเว็บไซต์มาเท่านั้น และผมจะอ้างถึง หน้าเว็บเพจ นั้นๆ ที่ท้ายบทความในส่วน page reference ครับ
........................................................................
ระยะฟักตัวของโรค (INCUBATION PERIOD)...............................
อาการ (SYMPTOM) .............................................
การป้องกัน (PROTECTION) .................................................
การรักษา (TREATMENT) ...................................................
ยังไม่มียาชนิดใดที่จะบำบัดโรคนี้ได้โดยตรงในปัจจุบัน แต่สามารถรักษาได้ตามอาการที่ปรากฏ เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ (เป็นกันโดยมาก) ก็ควรใช้ยาลดไข้ 1-2 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง ได้แก่ยา PARACETAMAL ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ ถ้าผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรใช้ยาคลายประสาทตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามใช้เกินขนาด เพราะจะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ (ห้ามใช้ STRICNIN โดยเด็ดขาด) ควรให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกาย พักผ่อน ในที่ลับตาคน อย่าพาผู้ป่วยออกนอกบ้าน เพราะอาจเผชิญหน้ากับเจ้าหนี้ได้ การกระทำเช่นนี้นอกจากจะไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว กลับจะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อย ๆ อาการดูน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย แต่อาการของผู้ป่วยจะกระเตื้อง ตื่นเต้นได้อีกครั้งก็ถึงตอนปลายเดือนนั้น ๆ แต่บางรายก็ไม่ดีขึ้น กลับทรุดหนักลงไปอีก เนื่องจากการอักเสบของดอกเบี้ย ไม่ควรนำผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาลเอกชนเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการช๊อคได้ เมื่อเห็นใบแจ้งหนี้ ทางที่ดีควรนำไปรักษายังสถานธนานุเคราะห์, สถานธนานุบาล โดยให้ผู้ป่วยนำของที่มีค่าติดตัวไปด้วย ซึ่งเป็นการรักษาอย่างปัจจุบันทันด่วน และตรงตามอาการของโรคมากที่สุด โดยหมอหลงจู้ จะให้ผู้ป่วยบอกประวัติ โดยซักอาการอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ใช่ของที่หยิบฉวยของผู้อื่นมาโดยเจ้าของไม่ยินยอม ต่อจากนั้นก็จะทำการตรวจรักษา ตีค่า ต่อรอง และเขียนใบสั่งยา โดยต้องมีการยืนยันด้วยบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย แล้วหมอหลงจู้จะให้วัคซีน โดยนำนิ้วหัวแม่มือของผู้ป่วยแปะลงบนวัคซีนสีดำ และกดลงบนใบสั่งยา ให้ปรากฏรอยเป็นที่แน่ชัด และสามารถยืนยันเป็นหลักฐานได้ จากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นทันตาเห็น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นอาการจะดีขึ้นได้กี่วัน ขึ้นอยู่กับของมีค่าที่นำติดตัวไป
โรคนี้จะสามารถรักษาให้หายขาดและไม่เกิดกับผู้ป่วยได้อีก .............
page reference
ขอบคุณครับ
ปรีดา ลิ้มนนทกุล
mobile : 089-3263248
email : preeda.limnontakul@gmail.com
update : Sep 23, 2007
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550
re-tell-18 : โรคติดต่อร้ายแรงมาก...โปรดระวัง !!!!!
โรคทรัพย์จาง มีศัพท์ทางวิชาการว่า MONEYHPILIA เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า MONEY และ PHILIA
มีลักษณะคล้ายกับโรค HEMOPHILIA ซึ่งโรค HEMOPHILIA ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดไหลไม่หยุด และโรคชนิดนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรม แต่ MONEYPHILIA เป็นโรคที่เงินไหลออกจากกระเป๋าไม่หยุด จนเกิดทรัพย์จางได้ โรคนี้มิได้ติดต่อทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่ติดต่อกันเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีรายได้น้อย ถึงปานกลาง ซึ่งไม่สามารถจัดสรรรายได้ให้ได้สัดส่วนกับรายจ่าย ว่ากันง่าย ๆ ก็คือรายจ่ายมากกว่ารายได้นั่นเอง ในทุกวันนี้โรคดังกล่าวได้เริ่มระบาดในหมู่คนไทยที่มีรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลางมาสองสามปีแล้ว ทำให้ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิต ตลอดจนบั่นทอนความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน บั่นทอนสุขภาพ บั่นทอนชีวิตครอบครัวและสังคมโดยร่วม ดังนั้น เราจึงควรศึกษารายละเอียดของโรคนี้ เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงหรือป้องกันแต่เนิ่น ๆ
เชื้อจะเริ่มฟักตัวประมาณวันที่ 15 ของเดือน แต่ก็ไม่แน่ทุกคนไป เพราะบางคนเชื้ออาจจะเริ่มฟักตัวได้ตั้งแต่วันที่ 5 ของเดือนก็มี และบางรายอาการรุนแรงจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนทีเดียว อาการจะปรากฏเร็วหรือช้า รุนแรงหรือไม่รุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อและชนิดรายได้ของแต่ละบุคคล ซึ่งแบ่งตามพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยของผู้ป่วยอีกทั้งขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคแทรกซ้อนที่มือด้วย ว่าเป็นโรคมือเติบหรือไม่หากเป็นโรคมือเติบด้วย จะยิ่งทำให้การรักษา หรือป้องกันเป็นไปได้ยาก และระยะฟักตัวของโรคก็จะรวดเร็ว อีกทั้งอาการก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหม่อลอย ไม่สบตาผู้อื่นโดยเฉพาะเจ้าหนี้ เหงื่อซึมออกตลอดเวลา หงุดหงิด สูญเสียความเชื่อมั่น ไร้สมาธิในการทำงาน เบื่ออาหาร หิวแต่ทานไม่ลง เพราะอาหารน้อย คุณภาพต่ำเนื่องจากด้อยกำลังซื้อ รสชาติไม่ถูกปาก ผู้ป่วยบางรายมีอาการรุนแรงถึงกับทำอัตวินิบาตกรรม บางรายมีอาการผวาเมื่อถูกเรียกชื่อ พวกที่มีอาการรุนแรงบางจำพวกจะทำการประชดชีวิตโดยการเดินมาทำงาน แทนการโดยสารรถประจำทาง หรือแท๊กซี่ หรือพยายามขึ้นรถโดยสารที่มีคนแน่นมากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกระเป๋ารถเมล์ หรือเพื่อที่จะได้หลบหลีกระหว่างบันไดหน้ากับบันไดหลังสลับไปมาได้รวดเร็วและ ทัน ท่วงที อีกทั้งเพื่อพยายามให้ได้รับอากาศที่ปลอดโปร่ง จะได้กินลมเพื่อลดอาการหน้ามืด
ไม่ควรนำเด็กหรือสัตว์เลี้ยงเข้าใกล้ เมื่อผู้ป่วยมีอาการหงุดหงิด มิฉะนั้นจะได้รับอันตรายจากผู้ป่วยได้ ไม่ควรนำของมีค่าเข้าใกล้ในระยะสายตาและมือเอื้อมถึง
ถ้าสามารถจัดสรรรายได้ในแต่ละเดือนให้เพียงพอ ควบคุมรายจ่าย ควรให้มีรายจ่ายต่อรายได้อย่างน้อยในอัตรา 1:1 แต่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่เป็นทางเดียวที่จะรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงต้องรักษาตามอาการข้างต้น และอาจจะใช้ยาแผนโบราณจำพวกวงแชร์ เท้าแชร์ รักษาร่วมก็ได้ แต่ต้องระวังผลข้างเคียงที่อาจะเกิดขึ้นได้ เช่น ลูกแชร์เบี้ยว เท้าแชร์หาย โรคมือเติบ จนทำให้ไม่สามารถรักษาสัดส่วนรายได้ต่อรายจ่ายที่ 1:1 ได้ จะส่งผลในทางลบมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากใช้ได้ถูกต้อง เช่น เป็นเท้าแชร์เอง ก็ต้องตามลูกแชร์ให้ได้ครบ ถ้าเป็นลูกแชร์ก็ต้องตามเท้าแชร์ให้ได้ทุกงวด และพยายามอย่าให้ถูกหมดนวดจับ จนติดโรคมือเติบ เป็นต้น ................................................................โชคดีไร้โรคา....
เขียนโดย preedatracking ที่ 02:10
ป้ายกำกับ: ปรีดา ลิ้มนนทกุล, เรือนกระจก, เอาของเขามาเล่า, preeda limnontakul
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เชิญแสดงความคิดเห็น ให้กับเจ้าของบทความด้วยนะครับ